วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ภาษาไทย เรื่อง เทคนิคการเขียน

เรื่อง เทคนิคการเขียน จาก อ.ชมัยภร

1. มีใจรักในการอ่านและการเขียน ถ้าไม่รักจริง ทำไม่ได้
2. มี จินตนาการในการเขียน อ.เล่าว่า มีนวนิยายเรื่องหนึ่ง นางเอกเป็นสาวอักษร ผิวเหลืองๆ พอ
อาจารย์เรียนอักษรก็เจอเพื่อนที่มีลักษณะคล้ายๆกับนางเอกในนิยาย เลยเรียกชื่อเพื่อนด้วยชื่อนางเอกคนนั้นซะเลย นั่นคืออาการ "อิน" กับเนื้อเรื่องอย่างหนึ่ง การเขียนนั้นต้องมีจินตนาการด้วย
3. ช่างสังเกตจำ ได้ว่าเราเคยอ่าน สวัสดีข้างถนน ที่อาจารย์เขียนเรื่องหมา อาจารย์บอกว่าสังเกตว่าหมามักจะผูกพันกับตัว ง งู (ฮ่ง โบ๋ง อะไรก็ว่าไป เสียงร้องอะ) เลยให้หมาในเรื่องร้องว่า "เง่ย" เวลาไม่พอใจ (เป็นคำที่เราสะดุดตาจนทุกวันนี้) อาจารย์บอกว่าเป็น"ฉิบหาย" ในภาษาหมาไปโน่น (ฮา)
การให้รายละเอียดในงานเขียนก็สำคัญ สังเกตแล้วเอามาเขียน เขียนโดยใช้สัมผัสทั้ง 5 ให้ละเอียดที่สุด (ตาดู ดูอะไร หูได้ยินอะไร ฯลฯ เอาให้คนอ่านได้ดู ได้ยิน ด้วยนะ) ต้องเขียนให้เหมือนจริงที่สุด ผู้อ่านจะได้คล้อยตามได้อาจารย์ ยกตัวอย่างการบรรยายของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เหตุการณ์ไม่เท่าไหร่ แต่ก็ผลาญพื้นที่ไปหลายหน้า เราจะรู้อากัปกิริยาของตัวละครอย่างละเอียดทีเดียว
4. มีความรู้และประสบการณ์ในการเขียน ถ้าเป็นสิ่งที่เรารู้จริง จะเกิดแรงบันดาลใจในการเขียน
อาจารย์ เขียนเรื่องจากเพื่อนลูกๆ เป็น บันทึกจากลูกผู้ชาย เขียนทุกสิ่งที่อาจารย์พบเห็นรอบๆตัวเป็นนิยาย (แล้วเราก็ติดกันหนุบหนับ) นักเขียนวัยรุ่นน่าจะหาเรื่องใกล้ตัวมาเขียนบ้างนะก๊ะ
5. มีความรู้พื้นฐานด้านวรรณกรรม ในที่นี้หมายถึงกลวิธีการเขียนต่างๆ เขียนเรื่องสั้นเขียนยังไง เขียนนวนิยายเขียนยังไง เขียนบทความเขียนยังไง เป็นต้น เท่ากับเป็นใบเบิกทางสู่ประตูนักเขียนเลยล่ะ
6. ฝึกฝนอยู่ เสมอ อาจารย์เคยเล่าว่าสมัยเรียนอักษร มีการฝึกฝนโดยนั่งมองคนเดินผ่านไปมา แล้วเขียนกลอนบรรยายลักษณะของคนเหล่านั้น ให้เพื่อนอ่าน อาจารย์เขียนมาก เขียนเยอะ
              7. มีความอดทน ในที่นี้คืออดทนรอคอย อดทนฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ อาจารย์ฝากไว้ว่า อย่าก้าวข้ามขั้น ในการเขียนนั้นควรเริ่มจากเรื่องสั้นก่อน แล้วค่อยเขียนนวนิยายยาวๆทีหลัง เหมือนกับการขึ้นบันได ถ้าไม่ไปทีละขั้นก็จะตกบันได คนที่ข้ามขั้น ตกบันไดมานักต่อนักแล้ว (เหมือนหลายๆคนในเด็กดี ที่เขียนนิยายทันที ไม่มีเรื่องสั้น อยากบอกว่าเรื่องสั้นจะทรงพลังกว่านิยายมาก เพราะมันสั้น เลยหักมุมได้ ทำอะไรกับมันก็ได้ นิยายเขียนๆไปก็อาจซ้ำๆกันได้อยู่) กว่า ที่จะได้ลงเรื่องสั้นสักเรื่องหนึ่ง อาจารย์บอกว่าในสมัยก่อนเป็นเรื่องยากมาก สมัยนี้เราว่าส่งไปก็คงได้ลงง่ายๆ แล้วล่ะ การส่งนิยายให้สำนักพิมพ์พิจารณาด้วย มันง่ายกันเหลือเกิน ไม่เหมือนสมัยอาจารย์ ที่เขียนแทบตายกว่าจะได้ลงหนังสือ ก็ขอฝากนักเขียนรุ่นใหม่ไว้ด้วยนะคะ ที่พิมพ์ๆหนังสือกันออกเกร่อนั้น มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ มีคุณค่าต่อสังคมด้วยหรือเปล่า?  ตามกระแส อยากดัง หรือว่าใจรักกันแน่?

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You can replace this text by going to "Layout" and then "Page Elements" section. Edit " About "

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน