วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ภาษาไทย ม.ปลาย เรื่อง หลักภาษาไทย

เรื่อง      หลักภาษาไทย

อักขระวิธี    ได้แก่  อักษร  แปลว่า  ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
         เสียงในภาษาไทย  มีอยู่  3  อย่าง คือ
1. เสียงแท้
    ได้แก่  สระ
2. เสียงแปร
   ได้แก่  พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี
  ได้แก่  วรรณยุกต์

สระ
สระในภาษาไทย  ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป  และเสียงสระ  32 เสียง

พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ
  มี 44 ตัว  คือ
1. อักษรสูง
  มี  11  ตัว  คือ                        
2. อักษรกลาง  มี 9   ตัว                 
3. อักษรต่ำ
   มี  24  ตัว  คือ 
      3.1  อักษรคู่  คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14  ตัว   คือ           ฌ ซ  ฑ  ฒ ท ธ       
      3.2 อักษรเดี่ยว   คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน  มี  10  ตัว คือ                   

วรรณยุกต์
วรรณยุกต์  มี  4  รูป  ได้แก่
              1. ไม้เอก
              2. ไม้โท
              3. ไม้ตรี
              4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย  มี   5  เสียง
               1. เสียงสามัญ   คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา  มา  ทา  เป็น  ชน 
               2. เสียงเอก  ก่า  ข่า  ป่า  ดึก   จมูก  ตก  หมด
               3. เสียงโท  เช่น  ก้า  ค่า   ลาก  พราก  กลิ้ง  สร้าง
               4. เสียงตรี  เช่น  ก๊า  ค้า  ม้า  ช้าง  โน้ต  มด
               5. เสียงจัตวา  เช่น  ก๋า  ขา  หมา  หลิว  สวย  หาม  ปิ๋ว   จิ๋ว
                                                                                                             
 คำเป็นคำตาย
คำเป็น  คือ  คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กา  กี  กื  กู
คำตาย
  คือ  คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กะ  กิ  กุ  
คำสนธิ
   คือ   การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน   โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ   หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท   เช่น
            ปิตุ + อิศ                                  เป็น                              ปิตุเรศ
            ธนู + อาคม                              เป็น                              ธันวาคม
            มหา + อิสี                                เป็น                              มเหสี

คำสมาส   คือ   การนำคำประสมตั้งแต่   2   คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี,
                  ความหมายคงเดิมก็มี   เช่น
             ราช + โอรส                            เป็น                             ราชโอรส
             สุธา + รส                                เป็น                             สุธารส
              คช + สาร                               เป็น                              คชสาร

คำเป็น   คือ   พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่      กา   และพยางค์ที่มีตันสะกดใน   แม่  กน   กง   กม   เกย   และสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
คำตาย   คือ   พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่      กา   กก   กด   กบ   แต่ยกเว้นสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
อักษรควบ   คือพยัญชนะ   2   ตัว   ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน   เช่น   เพลา   เขมา
อักษรควบแท้   คือคำที่ควบกับ            เช่น    ควาย  ไล่  ขวิด  ข้าง  ขวา   คว้า  ขวาน  มา  ไล่  ขว้าง ควาย  ไป
ควาย
  ขวาง  วิ่ง วน  ขวักไขว่        กวัดแกว่ง ขวาน  ไล่  ล้ม  คว่ำ ขวาง ควาย.
  
 อักษรควบไม่แท้    คือ   อักษร   2   ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว      แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง      หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น   เศร้า   ทราย   จริง   ไซร้   ปราศรัย   สร้อย   เสร็จ   เสริม   ทรง   สร้าง   สระ
อักษรนำ   คือ   พยัญชนะ   2   ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน   บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น   หนู   หนอ   หมอ   หมี   อย่า   อยู่   อย่าง   อยาก   หรือบางคำออกเสียงเหมือน   2   พยางค์   เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง   แต่พยัญชนะ   2   ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ    เช่น  กนก   ขนม   จรัส   ไสว   ฉมวก   แถลง   ฝรั่ง   ผนวก
คำมูล   คือ   คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว   เช่น   ชน   ตัก   คน   วัด   หัด   ขึ้น   ขัด  

คำประสม   คือ   การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง   เช่น
แม่ + น้ำ     =  แม่น้ำ  แปลว่า   ทางน้ำไหล        
หาง + เสือ   =   หางเสือ แปลว่า   ที่บังคับเรือ 
ลูก + น้ำ       =      ลูกน้ำ

พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้   พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น   โลห์   เล่ห์
3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน

วลี   คือ   กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ   และมีความหมายเป็นที่รู้กัน   เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค   คือ   กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์   เช่น
1. ประโยค   2   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา
                                                    นก                 บิน
2. ประโยค   3   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา     +     กรรม
                                                     ปลา                 กิน                มด

คำไทยแท้
คำไทยแท้ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว มีใช้ครบทั้ง  ชนิด  
สำหรับคำไทยที่มีหลายพยางค์อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
                                1.1  การกร่อนเสียง สันนิษฐานว่า คำ 2  พยางค์บางคำแต่เดิมมาจากคำพยางค์เดียว 2 คำเรียงกัน เมื่อพูดเร็วๆ เสียงแรกจึงกร่อนลง
                                                มะปราง                 มาจาก                    หมากปราง
                                                ตะขาบ                   มาจาก                    ตัวขาบ
                                                สะใภ้                     มาจาก                    สาวใภ้
                                1.2  การแทรกเสียง สันนิษฐานว่า   เดิมมีคำพยางค์เดียวเรียงกัน 2 คำ ต่อมาแทรกเสียงอะ” ตรงกลาง   กลมกลืนกับเสียงตัวสะกดของคำหน้า คำที่แทรกมาใหม่กลายเป็นพยางค์หน้าของคำหลัง เช่น
                                                ลูกกระเดือก          มาจาก                    ลูกเดือก
                                                นกกระจอก           มาจาก                    นกจอก
                                1.3  การเติมพยางค์หน้าคำมูล   คำเหล่านี้มักมีความหมายใกล้เคียงกัน ทั้งคำที่เติมและคำที่ยังไม่ได้เติม เช่น
                                                ดุกดิก                     เป็น                        กระดุกกระดิก
                                                ท้วง                        เป็น                        ประท้วง
คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ทั้งคำในมาตราตัวสะกดและแม่ ก กา
คำไทยแท้ไม่ค่อยใช้พยัญชนะต่อไปนี้                     ยกเว้นบางคำ   เช่น   ฆ่า เฆี่ยน   ระฆัง ศอก   ศึก  เธอ    ฯพณฯ ใหญ่   หญ้า   ฯลฯ
คำไทยแท้มีการใช้วรรณยุกต์ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป
คำไทยแท้ที่ออกเสียงไอ จะประสมด้วยสระ “ใอ”   มีทั้งหมด ๒๐ คำ นอกนั้นประสมด้วยสระ “ไอ”   แต่จะไม่ใช้ “อัย”   หรือ “ไอย
ตัวอย่างคำไทยแท้                                                                                                      
                พ่อ แม่   ปู่ ย่า   ตา   ยาย พี่   ป้า   น้า อา น้อง หลาน ลุง เหลน   หัว หู ตา คิ้ว ปาก   ฟัน แขน   ขา นิ้ว บ้าน   ครัว หมอน มุ้ง เสื่อ   ฟ้า   หม้อ   ไห   ถ้วย   ชาม   ไถ คราด   จอบ เสียม   เบ็ด แห   อวน เรือ   แพ   ดิน น้ำ   ลม ไฟ ฟ้า   ดาว ป่า เขา   นั่ง นอน   เดิน   เห็น ถาม พูด   อยู่ ตาย   ฉัน ท่าน เธอ แก   เขา มัน   หนึ่ง สอง   สาม สี่    ห้า    ดี   เลว เล็ก   ใหญ่ หวาน เปรี้ยว   หอม หนัก ฯลฯ

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต มีข้อสังเกตดังนี้
มักเป็นคำหลายพยางค์
ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดอย่างคำไทยแท้
มักมีตัวการันต์
คำที่มีอักษรควบเป็นตัวสะกด เช่น จิตร อัคร   ฯลฯ
มีบางคำใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราอย่างคำไทยแท้ เช่น มน(ใจ)
คำที่ประสมด้วยอักษร                

คำที่มีรูปวรรรณยุกต์ และมีไม้ไต่คู้กำกับ   มักเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ไม่ใช่ภาษาบาลีสันสกฤต   ยกเว้น   มีการเติมลงในภายหลัง เช่น เล่ห์   พ่าห์   เสน่ห์ ฯลฯ 
ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต นิยมใช้    ฤา  ฦา 
                บิดา มารดา ศีรษะ เคหะ ปักษิน ปักษิณี   ราชา ราชินี ยักษ์ เกษม เกษตร ตฤณ ทฤษฎี เทวษ ประพฤติ อัศวะสัตย์   พิสมัย ทุกข์ เลข   ยุค เมฆ รัฐ   ครุฑ   วุฒิ   บาท พุทธ เกศ   รส   บุญ การุณย์ ยนต์   เคารพ ลาภ จันทร์   จันทน์ วงศ์  ฯลฯ
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาเขมร   มีหลักการสังเกตดังนี้
                1. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำ เช่น เสน่ง   เขม่า ฯลฯ
                2. นิยมใช้ตัวควบกล้ำ         และอักษรนำ
                3. คำสองพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ จำ   ชำ ดำ ตำ   ทำ มักมาจากภาษาเขมร
                4. คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ บรร   มักมาจากภาษาเขมร
                5. คำเขมรใช้พยัญชนะตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด   แม่กด ใช้         สะกด
แม่ กน ใช้        สะกด
ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาเขมร
                บำบัด    กำแพง   กระบือ กำจัด   ตำรวจ     รัญจวน ควาญ    เขมา   บำเพ็ญ   บำนาญ บังอาจ   บังเกิด บังคม เสวย    ถกล ขจร   เจริญ   ฉบับ สะพาน ขจัด เสด็จ เสวย เถลิง ไผท จรัส   โฉนด ฉลอง  ถวาย เผด็จ เพนียด   เสบียง   ขลัง ตรัส ชำนาญ   บังอร ตำบล ไถง     พนม

เพยีย   ผจง ผกา     ฯลฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

You can replace this text by going to "Layout" and then "Page Elements" section. Edit " About "

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน